วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมภูมิปัญญาภาคใต้ ลิเกป่า

ลิเกป่า


       กำเนิดการเล่นแสดง “ลิเก” ของไทย ต้นเค้าเดิมคงได้ไปจากการละเล่นชนิดหนึ่งของชาวไทยเชื้อสายลมมลายูแถบจังหวัดยะลา ปัตตานี ที่เรียกว่า “ดีเกร์” หรือ “ดีเกร์ฮูรู” ในภาษามลายูพื้นเมืองซึ่งก็รับอิทธิพลแบบอย่างมาจากบทสวดสรรเสริญพระเจ้าของพวกแขกเปอร์เซียอีต่อหนึ่ง แต่ได้นำมาดัดแปลงเป็นบทขับร้องโต้ตอบกัน จนเกิดเป็นการละเล่นที่เรียก ดีเกร์ฮูลู ที่เป็นการร้องโต้คารมกันเพียงอย่างเดียวเหมือนกับลำตัด ซึ่งไทยเราก็เอาแบบอย่างนี้ไปด้วยทั้งลำตัดและลิเก แต่ที่เป็นลิเกนั้นคนไทยนำไปพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายละเอียดไปมากจนไม่เหลือเค้าเดิมเลยนอกจากชื่อ และมีประเพณีต้อง “ออกแขก” แสดงคงไว้ให้รู้เท่านั้น ตามลักษณะนิสัยคนไทยชอบปรุงแต่งให้ประณีตอย่างนาฏศิลป์และถูกรสนิยมและสังคมสิ่งแวดล้อม ของคนไทยมาแต่เดิม จึงกลายเป็นลิเกทรงเครื่องวิวัฒนาการไปไกลชนิดตรงข้ามกับต้นแบบดั้งเดิม
ลิเกป่าเรียกต่างกันหลายชื่อ เช่น ลิเกแขกแดง เป็นการแสดงของชาวไทยมุสลิมทางฝั่งทะเลตะวันตก เช่น ตรัง สตูล กระบี่ พัทลุง เนื่องจากเดิมลิเกมีตัวแสดงเพียง 3 ตัว เท่านั้น ได้แก่ 1. แขกแดง 2. ยาหยี 3. เสนา
       ลิเกป่ามีทุนรอนน้อย คนน้อย เครื่องแต่งกายจึงเป็นแบบตามมีตามเกิด ใช้นุ่งโจงกระเบนบ้าง ผ้าถุงผ้าโสร่งบ้าง เครื่องประดับใช้กระดาษ ใช้ดอกไม้พวงมาลัย เปลือกหอย ลูกผลไม้บ้างไม่มีบ้าง
เครื่องดนตรี มี

    • กลองรำมะนา
    • ฉิ่ง
    • โหม่ง
    • กลอง
    • ระนาด
    • กรับ
    • ซอหรือปี  



ที่มา

https://sites.google.com/site/looknampattalung/phumipayya-ni-dan-silpkar-saedng/like-pa
https://www.youtube.com/watch?v=9TMDf9O68HU
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น