แข่งว่าว ว่าวทางภาคใต้คล้ายกับภาคกลาง เป็นว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา ว่าวนก ว่าวกระบอก ว่าวใบไม้ ว่าววงเดือน ว่าวฟังเสียง (ว่าววงเดือนชนิดมีแอก คือ ปีกยาว ๓-๔ ม.) และอาจจะมีทำรูปอื่นที่แปลกไปอีกบ้าง นิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเดือน ๓-๔ (หรือราว ก.พ. – เม.ย.) เนื่องจากลมบนแรง แหล่งทำว่าว มีชื่อคือ วัดหน้าพระลาน จ.นครศรีธรรมราช มีเรื่องเล่าว่า สาเหตุที่ปลายยอดพระบรมธาตุเจดีย์คดเอียงไปเล็กน้อย ก็เนื่องมาจากถูกสายเชือกว่าวท่านสมภารวัดหน้าพระลานพานเอาบิดไป ว่าวยุคหลังรูปแบบต่างกันมากมีทั่วไป เช่น ทางพัทลุง ตรัง สตูล สงขลา โดยเฉพาะจังหวัดสตูลจัดให้มีการแข่งขันว่าวนานาชาติที่สนามบินเป็นประจำเกือบทุกปี โดยมากทางมาเลเซียมาแข่งขัน เป็นว่าววาบูแล (ภาษามลายูถิ่น) – วาบูลัน (ภาษามลายูถิ่นสตูล) คือว่าววงเดือน เพราะกลางลำตัวทำเป็นวงกลม อย่างวงเดือน ส่วนล่างสุดเป็นส่วนโค้งรูปคล้ายเขาควาย (ลางทีจึงเรียกว่าวเขาควาย) กระดาษตัวว่าวเขียนวาดลวดลายอย่างวิจิตร เป็นต้น กติกาการแข่งขันคือ ว่าวที่ชักขึ้นพร้อมกัน ว่าวตัวไหนที่ชักขึ้นสูงทำมุม ๙๐ องศา กับพื้นดินได้ก่อน ว่าวตัวนั้นก็จะชนะ โดยนิยมแข่งขันครั้งละ ๒ ตัว
ที่มา
https://sites.google.com/site/looknampattalung/phumipayya-ni-dan-kila-kar-la-len/khaeng-waw
https://www.youtube.com/watch?v=a-2XerHRf4I
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น